ปัจจัยและสาเหตุของการลดลงของเต่าทะเล

ปัจจัยการลดลงของเต่าทะเล


       เต่าทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องอันเเป็นผลกระทบโดยตรงจากมนุษย์ ในอดีต เต่าทะเลจำนวนมากต้องถูกล่า
เพื่อนำเนื้อและไขมันมาบริโภค กระดองและซากเต่าทะเล ถูกนำมาแปรรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่ง มิหนำซ้ำไข่เต่าทะเล
เกือบทั้งหมดถูกนำมาบริโภค ทำให้เต่าทะเลที่จะเจริญเติบโตไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ลดลงอย่างรวดเร็ว กิจกรรมของมนุษย์บริเวณ
ทะเลและชายฝั่ง มีผลกระทบในเชิงลบ ทำให้แหล่งวางไข่ แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งหากินของเต่าทะเลมีจำนวนลดลง
 นอกจากนี้สภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงยังส่งผลให้ประชากรเต่าทะเลมีความอ่อนแอลงในประเทศไทยสถิติการวางไข่ของ
เต่าทะเลมากกว่า 5 เท่า จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
 แม้ว่าเต่าทะเลในประเทศไทยจะได้รับความคุ้มครองก็ตาม แต่สถิติการลดลงก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง


       ปัจจุบันเต่าทะเลลดลงจนมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า สาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลลดลงมีสาเหตุ สำคัญ ๆ พอสรุปได้ดังนี้

1. อัตราการรอดของลูกเต่าทะเลเองในธรรมชาติต่ำมาก และใช้ระยะเวลานานนับ 10 กว่าปีที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์

2. การลักลอบเก็บไข่เต่าทะเล เนื่องจากค่านิยมในการบริโภคไข่เต่าทะเลของนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณความต้องการ
ไข่เต่าทะเลสูง ราคาไข่เต่าทะเลจึงสูง การลักลอบเก็บไข่เต่าเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายจึงยังเป็นปัญหาใหญ่




3. การติดเครื่องมือประมงทั้งที่ไม่เจตนาและโดยตั้งใจ เช่นทำการประมงอวนลาก, อวนลอย และเบ็ดราว บริเวณชายฝั่ง
หน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล หรือ แหล่งหาอาหารของเต่าทะเล โดยเฉพาะในช่วงฤดูการวางไข่เต่าทะเล ซึ่งเครื่องมือทำการประมง
เหล่านี้ เป็นตัวการโดยตรง ที่ทำลายพันธุ์เต่าทะเลทั้งที่เจตนาและไม่ได้เจตนา ซึ่งเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอดเมื่อติดอว
น หรือ เบ็ดอยู่ใต้น้ำนาน ๆ ก็จะจมน้ำตายได้ นอกจากนั้นชาวประมงบางกลุ่มทำการดักจับเต่าทะเลโดยเจตนา เพื่อนำเนื้อไป
บริโภคหรือฆ่าเพื่อเอาไข่ในท้อง

4. การบุกรุกทำลายแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของเต่าทะเล โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
จึงมีการบุกรุกสร้างที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพความเหมาะสมของแหล่งวางไข่เต่าทะเลเสียไป
 ปัจจุบันแหล่งที่เหมาะสมสำหรับวางไข่เต่าทะเลเหลือน้อยมาก

5. สภาพแวดล้อมชายฝั่งเสื่อมโทรม เต่าทะเลส่วนใหญ่อาศัยตามแนวชายฝั่ง
(ยกเว้นเต่ามะเฟืองซึ่งใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลเปิด)

     **  ดังนั้นสภาพชายฝั่งเสื่อมโทรมจากการทำการประมงที่ผิดวิธีก็ดี จากการถ่ายเทของเสียสู่ทะเลก็ดี ต่าง ๆ  เหล่านี้ทำให้
สภาพแหล่งอาหารและแหล่งอาศัยของเต่าทะเลเสียสภาพไป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าทะเลลดลง**

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น